วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557





แหวนมรกตโคลัมเบียล้อมเพชร



หยกพม่า


ทับทิมพม่า



พลอยสปิแนล กะรัต ละ 30 บาท


แหวนทับทิมพม่าล้อมเพชร


แหวนมรกตโคลัมเบียล้อมเพชร


แหวนพลอยพม่า



แหวนทับทิม พลอยจันทบุรี




          มนุษย์เราได้รู้จักอัญมณีมานานกว่า 4000 ปี โดยมีความเชื่อว่า “อัญมณี” เมื่อนำมาติดตัวแล้วจะสร้างความเป็นมงคลให้แก่ตนเอง จากหลักฐานจากที่ค้นพบเครื่องประดับที่นิยมฝังไว้กับศพคนตาย อาทิ เครื่องประดับที่ทำจากหิน ในยุคแรกจนถึงเครื่องประดับของหินสี หรืออัญมณี เป็นสิ่งบ่งชี้ว่ามนุษย์นั้น นิยมใช้เครื่องประดับอัญมณีมานานนับพันปีแล้ว โดยมุ่งเน้นที่ความสวยงาม การมีราศีเด่นเป็นสง่าแก่ผู้ที่พบเห็น     


มรกต (อังกฤษEmeraldสูตรเคมี: Be3Al2(SiO3)6) เป็นแร่รัตนชาติหรืออัญมณี ที่มีสีเขียว โดยเกิดจากการผสมกันระหว่างโครเมี่ยมกับเบริล เป็นแร่เบริลที่มีสีเขียวซึ่งแร่นี้มีได้หลายสี ถ้าฟ้าเรียกอความารีน(aquarmarine)สีเหลืองเรียกโกลเด้นเบริล สีแดงเรียก โรสเบริล และอื่นๆคุณภาพของมรกตอยู่ที่สีหากมีสีเขียวทั่วทั้งเม็ดก็จัดว่าคุณภาพสูง ส่วนตำหนินั้นมรกตธรรมชาติทุกชิ้นจะต้องมีทั้งสิ้น ลักษณะเป็นเส้น ริ้วสีขาว จุดสีดำ สีสนิม ฝ้าขาวขุ่นตามธรรมชาติ รอยริ้วที่ดุคล้ายรากผักชีเรียกว่า Jardin หรือสวนแห่งมรกต มรกตคุณภาพดีหรือไม่ดีก็มีทั้งสิ้น แต่พิจารณาปริมาณ และการวางตัวของตำหนิ (ต้องเลือกที่ไม่มีตำหนิต่อเนื่องราวมาจนถึงหน้าพลอย หรือจากขอบหนึงไปถึงขอบหนึ่ง เพราะจะมีผลต่อการนำไปใช้ อาจไม่คงทน )ซึ่งอาจจะมีผลกับการส่องประกายแสงออกมาจากมรกต หากมีมากไปพลอยจะดูทึบแสง ไม่มีประกายซึ่งมักได้รับการเจียระไนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า หากทึบจนตันแสงไม่ส่องผ่านเลยและมีสีเขียวซีดจะจัดเป็นมรกตคุณภาพต่ำที่สุด มรกตมีการทำเลียนแบบ สังเคราะและปรับปรุงคุณภาพ(อาบนำมันบ้าง ชุบสี ซ่านสี เคลื่อบสี แช่สารเคมีเฉพาะ) ดังนั้นจึงควรตรวจสอบก่อนการซื้อเพราะจัดเป็นพลอยที่มีราคาสูงมาก(ถ้าคุรภาพดีมากและขนาดใหญ่ด้วยแล้ว) บางกรณีนั้นแยกแทบไม่ออกด้วยตาเปล่าต้องส่วห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือช่วยตรวจสอบ มรกตนั้นมีหลายเฉดสี แหล่งที่สำคัญมากและโด่งดังไปทั่วโลกคือ มรกตจากโคลัมเบีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่างามที่สุดในโลกราคามักสูงกว่าแหล่งอื่นๆและถูกกล่าวอ้างถึงบ่อยๆ มีเหมืองสำคัญซึ่งผลิตมรกตสีต่างกันคือ เหมืองชิวอร์(Chivor)มีมรกตสีเขียวสดอมเหลือง และเหมืองมูโซ(Muzo)ให้มรกตสีเขียวอมฟ้า คล้ายสีของน้ำทะเล การดูแลรักษาไม่ควรใส่ทำงานหนัก เพราะทนแรงกระแทกได้ไม่ดีนักมีความเปราะ หลีกเลี่ยงสารเคมี น้ำหอมและสเปร์ยแต่งผม







แซฟไฟร์ (อังกฤษSapphire) เป็นพลอยตระกูลคอรันดัม มีหลายสี แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงเฉพาะที่มีสีน้ำเงิน ในประเทศไทย เดิมเรียกว่า นิลกาฬ (นิลก็ยังหมายถึงพลอยอีกชนิดหนึ่ง) แต่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ไพลิน ตามชื่อของแหล่งกำเนิดจากเหมืองพลอย ในจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา ที่ในช่วงหนึ่งมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก [2]
แซฟไฟร์จัดเป็นแร่ในประเภท (Species) คอรันดัม (Corundum) เช่นเดียวกับทับทิม (Ruby) ซึ่งพลอยคอรันดัมนี้เป็นพลอยที่มีความแข็งรองลงมาจากเพชร จึงทำให้แซฟไฟร์ เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำไปทำเครื่องประดับ
ชาวเปอร์เซียโบราณเชื่อกันว่าแซฟไฟร์ คือ "หินที่มาจากฟ้า" เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าโลก ตั้งอยู่บน แซฟไฟร์ ขนาดมหึมา จึงทำให้สะท้อนแสงแดด ออกไปสู่ท้องฟ้ามีสีน้ำเงิน ตามตำนานกล่าวว่า แซฟไฟร์เป็นพลอยของกษัตริย์ที่ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันภัยอันตราย ทำให้เชื่อกันว่าผู้ที่สวมใสแซฟไฟร์จะมีชีวิตที่สดใส มีพลังในการดำรงชีวิต และแซฟไฟร์นี้สามารถปกป้องอันตรายแก่ผู้ที่สวมใส่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเอาแซฟไฟร์นี้เป็นสัญลักษณ์ของความจริงใจ และมั่นคงอีกด้วย
ปัจจุบันหากพูดถึงแซฟไฟร์ คำเดียวจะหมายถึง Blue Sapphire หรือ ไพลิน มาจากภาษาเปอร์เชีย "Saffir" หรือจากภาษากรีก "Sappheiros" แปลว่า สีน้ำเงิน หรือจากภาษาสันสกฤต "ศนิปฺริย" (ศนิ = พระเสาร์, ปฺริย = ผู้เป็นที่รัก) แปลว่าของมีค่าของเทพแซทเทิร์น (ในเทพปกรณัมโรมัน) [3] [4] อย่างไรก็ตาม ในภาษาสันสกฤตยังมีคำเรียกแซฟไฟร์สีน้ำเงินว่า "อินฺทฺรนีล" หมายถึง "สีน้ำเงินเหมือนพระอินทร์"
ในสมัยโบราณ จะเรียกพลอยคอรันดัมที่มีสีน้ำเงินว่าแซฟไฟร์ แต่ในความเป็นจริงพลอยคอรันดัมมีได้หลากสี เช่น สีเหลือง, ชมพู, ม่วง, เขียว เป็นต้น ดังนั้นหากเราต้องการจะเรียกพลอยคอรันดัมชนิดอื่นที่ไม่ใช่ไพลิน (Blue Sapphire) เราจะต้องระบุสีด้วย เช่น Yellow Sapphire (บุษราคัม), Green Sapphire (เขียวส่อง), Pink Sapphire (พลอยชมพู) เป็นต้น
ในปัจจุบันแซฟไฟร์ส่วนใหญ่มักผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนหรือที่เราเรียกกันว่าการเผา แต่ก็ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปในตลาดพลอย เพราะการเผาจะทำให้สีดีของแซฟไฟร์ดีขึ้นและอยู่คงทนถาวร
แซฟไฟร์เป็นพลอยประจำเดือนเกิดของผู้ที่เกิดเดือนกันยายน และแซฟไฟร์ยังถือเป็นสัญญลักษณ์ที่คู่รักนิยมมอบเป็นของขวัญให้แก่กันในโอกาสครบรอบการแต่งงานในปีที่ 5, 15, 23 และ ปีที่ 45 แซฟไฟร์ได้รับความนิยมในหมู่คนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ





บุษราคัม (Yellow sapphire) เป็นอัญมณีประเภทคอรันดัมที่มีสีเหลือง พบได้ในธรรมชาติเป็นแร่เดียวกับทับทิม ไพลิน เขียวส่อง พัดพารัดช่า และพวก Fancy sapphire แต่ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดจะได้จากการเผาพลอยคอรันดัมที่มีสีเหลืองจาง มีตำหนิสีอื่นปนบ้าง(เหลือง,เขียว,นำเงินมาปนกัน) และสีเขียว(เขียวส่อง) ทำให้มีสีสวยงาม เข้มขึ้นขายได้ราคาสูง พลอยบุษราคัมสีจะมีตั้งแต่เหลืองอ่อนเรียกบุษย์น้ำเพชร, สีอมเขียวเรียกว่าบุษย์น้ำแตง, สีเหลืองทองเรียกบุษย์น้ำทอง, สีคล้ายเหล้าเรียกบุษย์น้ำแม่โขง, สีเหลืองเข้มมากเรียกบุษย์น้ำขมิ้นเน่า, สีเหลืองออกส้มเรียกว่าบุษย์น้ำจำปา , บุษย์น้ำแม่โขงและน้ำทองเป็นที่นิยมจะมีราคาแพง โดยน้ำโขงจะแพงกว่า ลักษณะที่ดีควรเลือกพลอยที่เจียระไนได้สัดส่วน ก้นไม่บางจนเกินไป ใสไม่มีตำหนิที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พลอยจึงจะมีประกายงดงาม แหล่งบุษราคัมที่สำคัญคือ จันทบุรี ศรีลังกา ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลียและอื่นๆ





โอลิวีน (อังกฤษOlivine) เป็นภาษาโบราณ หมายถึง สีเขียวมะกอก (Olive green) และยังหมายถึงว่า เป็น แร่ประกอบหิน แต่ในลักษณะที่เป็นรัตนชาติ เรียกว่า เพริดอต (Peridot) ส่วนคำว่า คริโซไลต์ (Chysolite) ก็หมายถึง โอลิวีน เช่นกัน แร่ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย[4]
  1. ฟอสเตอไรต์ (Forsterite) Mg2SiO4
  2. โอลิวีน (Olivine) หรือ คริโซไลต์ (Chrysolite) (Mg, Fe) 2SiO4
  3. ฟายาไลต์ (Fayalite) Fe2SiO4
คลาส (Class) : ซิลิเกต (silicate)
สับคลาส (Subclass) :นีโซซิลิเกต (Nesosilicates)

  • สี (Color) : สีเขียวมรกต,สีเขียวมะกอก (Olive green),สีเหลืองเขียวซีด สีเขียวน้ำตาล,สีดำ, สีแดง นอกจากนี้ยังพบพวกไม่มีสี ซึ่งพวกที่ไม่มีสีมักจะเป็นพวกฟอสเตอไรต (forsterite) บริสุทธิ์ ในขณะที่มีสีเขียวน้ำตาลถึงสีดำอาจเป็นพวกฟายาไลต์ (fayalite) ทั้งหมด
  • องค์ประกอบ (Composition) : เป็นพวกแมกนีเซียม-เหล็ก ซิลิเกต (Magnesium iron silicate) โดยมี Magnesium end memberคือฟอสเตอไรต forsterite (Magnesium silicate) และเป็น iron end member คือฟายาไลต fayalite (Iron silicate).ส่วนแร่สมาชิกที่อยู่ระหว่างทั้งสองตัวที่เป็นที่รู้จักคือ ( Intermediary member) คือคริโซไลต Chrysolite
  • ความวาว (Luster) : เป็นเหมือนแก้ว (vitreous)
  • ระบบผลึก (Crystal System) :เป็นออร์โทรอมบิก orthorhombic; 2 / m 2 / m 2 / m
  • ความโปร่งใส (Transparency) : มีความโปร่งใสถึงโปร่งแสง
  • สมบัติทางแสง (Optical properties) : ไบแอกเซล Biaxial (+)
  • แนวแตกเรียบ (Cleavage) : {010} ไม่ชัด
  • รอยแตกหัก (Fracture) : เป็นก้นหอย conchoidal
  • ค่าความแข็ง (Hardness) : 6.5-7
  • ความเหนียว (Tenacity) :เปราะ (Brittle)
  • ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) : สำหรับฟอร์สเตอไรต์ (forsterite) ~ 3.2
    สำหรับฟายาไลต์ fayalite ~ 4.3 (สูงกว่าค่าเฉลี่ยสำหรับที่ไม่ใช่โลหะแร่ธาตุ)
  • สีผง (Streak) : สีขาว
  • การทดสอบ (Complex Test) : ละลายได้ใน กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
  • ค่าดัชนีหักเห (Refraction index) : nα = 1.630–1.650
    nβ = 1.650–1.670
    nγ = 1.670–1.690
  • ลักษณะอื่น ๆ (Other Characteristics) : มีการหักเหสองครั้ง (Double refraction)
  • แร่ธาตุที่เกิดร่วมกัน (Associated Minerals) : มีไดออปไซด์ (Diopside) , สปิเนล (Spinel) ,เฟลสปาร์ (Feldspars),แพคจิโอเคด (Plagioclase) ,โครไมต์ (Chromite) , ฮอร์นเบลนด์ (Hornblend) ,เซอร์เพนทีน (Serpentine), อุกกาบาตที่มีเหล็กนิกเกิล (Iron-nickle) และ ออร์ไจต์ (Augite)
  • ลักษณะเด่น และวิธีตรวจ: สังเกตจากความวาวที่คล้ายแก้ว รอยแตกเว้า สีเขียว และลักษณะของผลึกที่เกาะกลุ่มกันแน่น ใส่กรดเกลือแล้วอุ่นให้ร้อนจะละลานได้ง่าย เกิดลักษณะที่เป็นของซิลิกา






หยก (Jade) คือชื่อที่ใช้เรียกหินซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล
ในอดีตเข้าใจกันว่าหยกมีเพียงชนิดเดียว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความรู้ทางด้านเคมีมากขึ้น จึงสามารถแยกหยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
  1. เจไดต์ (Jadeite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นโซเดียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (NaAl(SiO3)2, Sodium aluminium silicate) มักมีสีเขียวเข้มสดกว่าเนฟไฟรต์ จัดเป็นหยกชนิดคุณภาพดี อยู่ในระบบผลึกแบบหนึ่งแกนเอียง โดยธรรมชาติมักพบเป็นก้อนเนื้อแน่นประกอบด้วยผลึกขนาดเล็กอยู่รวมกัน มีความวาวตั้งแต่แบบแก้วจนถึงแบบน้ำมัน หยกเจไดต์มีความแข็ง 6.5-7 มีสีในเนื้อพลอยเฉพาะตัว และมักไม่สม่ำเสมอ มีสีเข้มและจางของแต่ละผลึกรวมกันอยู่ โดยเฉพาะในพลอยก้อนจะมีลักษณะเป็นหย่อมสี พบว่าเกิดอยู่ในหินเซอร์เพนทีน ที่ได้จากการแปรสภาพของหินอัคนีชนิดที่มีแร่ดอลีวีนอยู่มาก หรือมีโซเดียมอยู่มาก
  2. เนฟไฟรต์ (Nephrite) มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมแมกนีเซียมซิลิเกต (Calcium magnesium silicate) อยู่ในระบบผลึกหนึ่งแก่นเอียง โดยธรรมชาติมักพบเกิดเป็นผลึกกลุ่มที่มีขนาดเล็กรุปเส้นใยเดียวกัน หยกเนฟไฟรต์มีความแข็ง 6-6.5 มีความวาวแบบแก้วถึงน้ำมัน สีมีความเฉพาะตัวเหมือนหยกเจไดส์ แต่มีสีเข้มไม่เท่า และมีสีมืดมากกว่า พบว่าเกิดจากหินเดิมที่มีธาตุแมกนีเซียมแปรสภาพด้วยความร้อน




คุณสมบัติ  โกเมนจะอยู่ในระบบผลึกแบบ Cubic

  • มีรูปผลึกเป็นรูปเหลี่ยม 12 หน้า (rhombic-dodecahedral)
  • มีความแข็งประมาณ 6.5 - 7.5
  • มีหลายสีแต่ที่เด่นที่สุดคือสีแดง
  • ความวาวที่พบจะมีความวาวคล้ายแก้ว
  • มีรอยแตกแบบก้นหอย
  • ความคงทนค่อนข้างดีนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ
GarnetCrystalUSGOV.jpg

ชนิดและชื่อทางการค้าของโกเมน

ไพโรป (Pyrope)

จะมี สีส้มอมแดง ถึงแดงอมม่วงเล็กน้อย สีสดกว่าการ์เนตชนิดอื่น (Cr3+, Fe2+) มีแหล่งกำเนิดสำคัญบริเวณแอฟริกาใต้ เชโกสโลวาเกีย และแทนซาเนีย ซึ่งเราสามารถจำแนกความแตกต่างของไพโรปออกจากการ์เนตอื่น ๆ โดยใช้
  • ค่าดัชนีหักเห 1.720 - 1.756 ปรกติ 1.746
  • ความถ่วงจำเพาะที่มีค่า 3.62 - 3.87 ปรกติ 3.78

อัลแมนดีน (Almandine)


Almandine in metamorphic rock
จะมี สีส้มอมแดง แดงอมม่วงเล็กน้อย โทนสีออกจะมืดตลอด (Fe2+, Cr3+) ลักษณะเด่นของอัลแมนดีนคือมลทินภายในจะมีลักษณะคล้ายเข็มตัดกันด้วยมุม 40/110° หรือ เห็นผลึกเซอร์คอนล้อมด้วยวงแหวน แหล่งกำเนิดจะอยู่ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา และ มาดากัสการ์ เนื่องจากอัลแมนดีนเป็นการ์เนตที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง จึงเป็นที่นิยมในการนำมา ใช้เป็นพลอยปะ ด้านบนของแก้ว (Garnet - glass doublets) เพื่อเลียนแบบทับทิม หรือ ไพลินที่เป็นอัญมณีราคาแพง
  • ค่าดัชนีหักเห 1.760 - 1.820 ปรกติ 1.790 (จะสูงกว่าไพโรป เพราะมี Feในองค์ประกอบ)
  • ค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.93 - 4.30 ปรกติ 4.05 (จะสูงกว่าไพโรป เพราะมี Feในองค์ประกอบ)

โรโดไลต์ (Rhodolite)

จะมีสีแดงอมม่วง ถึงม่วงอมแดง แต่จะมีสีม่วงปนอยู่เสมอซึ่งเป็นลักษณะเด่น ชื่อนี้ได้มาจากภาษากรีก แปลว่า “สีชมพู” ในทางการค้า พลอยการ์เนตสีม่วงจะถูกเรียกเป็นโรโดไลต์ จะมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ประเทศศรีลังกา แอฟริกาตะวันออก และอินเดีย
  • ค่าดัชนีหักเห 1.740 - 1.770 ปรกติ 1.760 (อยู่ระหว่างไพโรปอัลแมนดีน)
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 3.74 - 3.94 ปรกติ 3.84 (อยู่ระหว่างไพโรปอัลแมนดีน)

สเปสซาทีน (Spessartine)

จะมีสีส้มอมเหลืองถึงส้มอมแดง มักจะต้องมีสีส้มติดอยู่เสมอ (อันเนื่องจากธาตุ Mn2+, Fe3+) ลักษณะเด่นของสเปสซาทีนคือเป็นแร่โปร่งใส ออกโทนสีส้มเสมอคล้ายเฮสโซไนต์แต่แยกได้โดยใช้ค่าดัชนีหักเห แหล่งกำเนิดคุณภาพดีมาจากศรีลังกา สหรัฐอเมริกา บราซิล และ มาดากาสก้า
  • ค่าดัชนีหักเห 1.790 - 1.814 ปรกติ 1.810
  • ความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) 4.12 - 4.20 ปรกติ 4.15


เขี้ยวหนุมาน หรือ แอเมทิสต์ (อังกฤษamethyst) เป็นแร่ควอตซ์ชนิดหนึ่ง (SiO2) ที่มีสีม่วงอ่อน จนถึงเข้ม เรียกอีกอย่างว่า "พลอยม่วง ดอกตะแบก" นิยมใช้เป็นเครื่องประดับ





อำพัน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ เป็นสิ่งมีค่าด้วยสีสันและความสวยงามของมัน อำพันที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับและอัญมณี แม้ว่าอำพันจะไม่เป็นแร่แต่ก็ถูกจัดให้เป็นพลอย
โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจผิดกันว่าอำพันเกิดจากน้ำเลี้ยงของต้นไม้ แท้ที่จริงแล้วน้ำเลี้ยงเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบท่อลำเลียงของพืช ขณะที่ยางไม้เป็นอินทรียวัตถุเนื้ออสัณฐานกึ่งแข็งที่ถูกขับออกมาผ่านเซลล์เอพิทีเลียมของพืช
เพราะว่าอำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล
สีของอำพันมีได้หลากหลายสีสัน ปรกติแล้วจะมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม เนื้อของอำพันเองอาจมีสีได้ตั้งแต่ขาวไปจนถึงเป็นสีเหลืองมะนาวอ่อนๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลจนถึงเกือบสีดำ สีที่พบน้อยได้แก่สีแดงที่บางทีก็เรียกว่าอำพันเชอรี่ อำพันสีเขียวและสีฟ้าหายากที่มีการขุดค้นหากันมาก

อำพันที่มีค่าสูงมากๆจะมีเนื้อโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามอำพันที่พบกันมากทั่วไปจะมีสีขุ่นหรือมีเนื้อทึบแสง อำพันเนื้อทึบแสงมักมีฟองอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากที่รู้จักกันในนามของอำพันบาสตาร์ดหมายถึงอำพันปลอม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นอำพันของแท้ๆนั่นเอง




มุกดามุกดาหาร หรือ จันทรกานต์ (moonstone) เป็นแร่แฟลสปาร์ความแข็งประมาณ 5-6 โมลส์เป็นหนึ่งในนพเก้าของไทย มีทั้งสีขาวหมอกมัวคล้ายหมอกน้ำค้างยามเช้าตามหลักการนำมาประกอบเครื่องนพรัตน์ ดังคำกลอนที่ว่า "มุกดาหารหมอกมัว" และสีอื่นๆเช่น ขาว ส้ม น้ำผึ้ง ขาวใส เทา น้ำตาล ส่วนมากแล้วมุกดาหารจะมีเนื้อขุ่นหาที่ใสสะอาดได้ยาก แต่เนื้อที่ขุ่นมีลักษณะพิเศษมีเหลือบรุ้งสีออกฟ้าสีนวลคล้ายดั่งดวงจันทร์ หลายวัฒนธรรมจึงมีความเชื่อว่ามุกดาหารมีกำเนิดจากแสงของพระจันทร์ บางชิ้นเกิดเส้นพาดกลางคล้ายตาแมว (คล้ายปรากฏการณ์ที่พบในไพฑูรย์แต่จะไม่คมชัดมากเท่า) สวยงามมาก ด้วยเหตุนี้จึงนิยมเจียรไนมุกดาหารเป็นทรงหลังเต่า การใช้งานควรระมัดระวังการกระทบเสียดสี ราคานั้นไม่สูงเพราะหาง่ายแหล่งที่สำคัญเช่น พม่า ศรีลังกา (สองแหล่งนี้คูณภาพสูงที่สุด) อินเดีย มาดากัสการ์ บราซิล สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก แทนซาเนียและอื่นๆ มีบางคนเข้าใจผิดว่ามุกดาหารกับไข่มุกเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง






เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10


เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้

ประวัติ

เพชรมีการกล่าวถึงและทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นเวลาหลายศตวรรษตามแม่น้ำเพนเนอร์ กฤษณะและ โคธาวารี เพชรเป็นที่รู้จักในประเทศอินเดียมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแต่ไม่เกิน 6,000 ปี[4]
อัญมณีเพชรกลายเป็นสิ่งมีค่าเมื่อมีการนำไปใช้เป็นรูปเคารพทางศาสนาในอาณาจักรอินเดียโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานเพชรเป็นเครื่องมือแกะสลักตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วย[5][6] ความนิยมของเพชรได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการตัดและขัดเกลาที่ดีขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการปฏิรูปและความสำเร็จของการโฆษณาเผยแพร่[7]
ในปี ค.ศ. 1772 อ็องตวน ลาวัวซีเยได้ใช้แว่นขยายรวมรังสีดวงอาทิตย์ไปบนเพชรในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการพิสูจน์ว่าเพชรเป็นองค์ประกอบของคาร์บอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 สมิทสัน เท็นแนนต์ (Smithson Tennant) ได้ทำซ้ำและเพิ่มเติมการทดลองนี้ โดยแสดงให้เห็นว่าการเผาไหม้เพชรและกราไฟท์จะปลดปล่อยก๊าซที่มีองค์ประกอบเดียวกัน สมิทสันได้สร้างสมดุลสมการเคมีของสารเหล่านี้ขึ้นมา[8]
การใช้งานเพชรส่วนมากในปัจจุบันเป็นการใช้ในเชิงอัญมณีซึ่งใช้ทำเครื่องประดับ การใช้งานในลักษณะนี้สามารถนับย้อนไปได้ถึงในสมัยโบราณ การกระจายของแสงขาวในสเปกตรัมสีเป็นลักษณะพื้นฐานทางด้านอัญมณีวิทยาของอัญมณีเพชร ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เชี่ยวชาญในด้านอัญมณีวิทยาได้พัฒนาวิธีแบ่งระดับของเพชรและอัญมณีชนิดอื่นบนพื้นฐานของลักษณะที่สำคัญในเชิงมูลค่าของอัญมณี 4 ลักษณะหรือที่รู้จักกันในชื่อ 4 ซี ถูกใช้เป็นพื้นฐานการบ่งชี้ของเพชร ประกอบด้วย กะรัต (carat) การตัด (cut) สี (color)และ ความสะอาด (clarity)[9] เพชรไม่มีตำหนิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรู้จักกันในชื่อ พารากอน



สปิเนล (Spinel) /ˈspɪnɛl/ เป็นแร่รัตนชาติ ตระกูลคอรันดัม ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของแม็กเนเซียมและอะลูมิเนียม มีสูตรเคมีว่า MgAl2O4[2] โดยเฉพาะสีแดง จะลักษณะคล้ายทับทิมมาก จนเรียก "ทับทิมสปิเนล" (ruby spinel) ส่วน บาลัส รูบี้ หรือ ทับทิมบาลัส เป็นชื่อเดิมของสปิเนลที่มีสีกุหลาบ สปิเนลมีรูปผลึกชัดแบบออกตระฮีดรอน ระดับความแข็งถึง 8 มีความวาวแบบแก้ว สปิเนลแตกต่างจากแร่แมกเนไทท์ ตรงที่ ไม่มีสมบัติเป็นแม่เหล็ก และมีสีผงละเอียดสีขาว ไม่หลอมละลาย และไม่ละลายในกรด